พิมพ์

          ข้อมูลข่าวสารด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อผู้บริโภค ประจำเดือนมกราคม   2560  นี้  

      “  คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ อ.พาน  จ.เชียงราย    เตือนผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อโฆษณาและซื้อมาบริโภคผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณปลอม ลักลอบผลิต จำหน่าย  เป็นโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง ไม่ได้รับอนุญาต ฉลากไม่ถูกต้อง สังเกตใช้หมายเลขโทรศัพท์มือถือ โดยไม่ใช้เลขโทรศัพท์พื้นฐาน  เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้บริโภค  และไม่มีขายในร้านขายยาทั่วไป แต่มีตัวแทนนำมาขาย โดยการขายตรง แบบบอกต่อ หรือรถเร่มาจากต่างจังหวัดไกลๆเช่นจากภาคอีสาน หรือสั่งซื้อขายทางไปรษณีย์  ดังในภาพที่นำเสนอนี้เป็นยาน้ำแผนโบราณขนานนี้ ที่ตรวจพบในพื้นที่อำเภอพานเป็นยาน้ำชื่อ        “ ยากษัยเส้น  ตราพิกุลทอง ”ระบุเลขทะเบียน G799/48  ลักลอบผลิต แอบอ้างชื่อว่าผลิตและจำหน่ายโดยโรงงานยาแผนโบราณพิกุลทองเจ็ดชั้นโอสถ  อ.เมือง  จ.มหาสารคาม  ซึ่งแอบอ้างใช้ชื่อยาของผู้ผลิตรายอื่นที่รับอนุญาตถูกต้อง ดังนั้น ยานี้จึงจัดเป็นยาปลอม ผิดกฎหมาย และยังพบว่าผสมสารสเตียรอยด์  ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย  จึงโอ้อวดสรรพคุณรักษา บรรเทาอาการโรคปวดต่างๆ  เช่นปวดเมื่อตามร่างกาย  อัมพฤกต์   มือ เท้าชา  นิ้วล็อค เป็นต้น ผู้รับประทานมีอาการหายปวดภายในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งเป็นฤทธิ์ของสารสเตียรอยด์  มิใช่เป็นฤทธิ์ของตัวยาสมุนไพร ยาแผนโบราณที่เป็นส่วนประกอบจะเกิดผลเสียต่อสุขภาพร่างกายในเวลาต่อมา

            จึงแจ้งเตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อผลิตภัณฑ์ ยากษัยเส้นตราพิกุลทอง  ที่ลักลอบผลิตโดยห้างพิกุลทองเจ็ดชั้นโอสถ     มีภาพประกอบ  เป็นขวดแก้วสีชา ฉลากสีเหลืองอ่อน บรรจุในกล่องกระดาษสีเหลือง  

ยากษัยเส้น ตราพิกุลทอง  ทะเบียนยา  G 799/48 เลขทะเบียนยาปลอม

          จัดเป็นยาปลอม  ลักลอบผลิต จำหน่าย   ผสมสารสเตียรอยด์

        ห้ามขาย มีความผิด ตามพ.ร.บ.ยา   อย่าซื้อมาบริโภค อันตราย

   
 

   ข้อสังเกต ยาไม่ได้มาตรฐาน ยาปลอม

1.      ไม่ระบุหมายเลขโทรศัพท์พื้นฐานของสถานที่ผลิต หรือสถานที่จำหน่าย แต่ใช้หมายเลขโทรศัพท์มือถือของตัวแทนขาย

2.       ฉลากไม่ระบุ วัน เดือน ปี ที่ผลิต และ ครั้งที่ผลิต ( lot . number ) หรือถ้ามีระบุ มักพิมพ์ติดอย่างถาวร โดยมิใช่การปั้มแต่ละครั้งที่ผลิต

3.      มักไม่มีจำหน่ายในร้านขายยาทั่วไป  แต่มักมีรถเร่ และหรือ ตัวแทนขาย หรือให้สั่งซื้อทางโทรศัพท์ เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่

4.      มักเป็นยาที่โฆษณาสรรพคุณแก้ปวดต่างๆ ปวดเมื่อย ปวดข้อ กระดูก กล้ามเนื้อ  อัมพฤกต์ อัมพาต เองจากผสมสารสเตียรอยด์ ที่มีฤทธิ์บรรเทาปวดอักเสบที่แรง  เมื่อรับประทานยานี้เพียงเล็กน้อย อาการปวดต่างๆทุเลา ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว  

5.      ฉลากมักมีข้อพิรุธ ผิดปกติจากมาตรฐาน เช่น มีเครื่องหมายสัญลักษณ์ อย. หรืออ้างข้อกฎหมาย ว่าเป็นยาสามัญประจำบ้านที่ไม่ต้องขออนุญาต ซึ่งตามกฎหมาย ไม่ให้เขียนข้อความเหล่านี้

                                                                 ข้อมูล จากงานคุ้มครองผู้บริโภค ฯ  รพ.พาน   ม.ค.60